• 5 มี.ค. 2559

การประเมินราคาบ้าน คอนโด เพื่อขอกู้ (1)

สวัสดีเดือนสามของปีค่ะทุกท่าน ใกล้หมดโปรโมชั่นค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองเหลือ 0.01% ที่สำนักงานที่ดินวันที่ 28 เมษายน 2559 สำหรับผู้ที่จะซื้อบ้านหรือคอนโดแล้วนะคะ ใครที่จำเป็นจะต้องซื้อคอนโดหรือบ้านเพื่ออยู่อาศัย รีบหาและสรุปโดยเร็วนะคะ เพราะหลังจากที่วางมัดจำกับเจ้าของแล้ว การกู้โดยปกติอาจต้องใช้เวลาอีก 2-4 สัปดาห์ ซึ่งถ้ารอสรุปเดือนเมษา อาจจะไม่ทันค่ะ

เมื่อจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดเราต้องมีการประเมินราคาเพื่อกำหนดเพดานของวงเงินกู้และทราบราคาปัจุบันของบ้านหรือคอนโดที่เราจะซื้อ เพราะบ้านหรือคอนโดนี่เราจะซื้อนี่แหละค่ะ ที่จะเป็นหลักทรัพย์ในการที่เราจะใช้เพื่อค้ำประกันเงินกู้ที่เราจะขอยืมจากธนาคารเพื่อมาจ่ายเป็นค่าบ้านแล้วผ่อนส่งจ่ายธนาคารเป็นงวด พูดง่ายๆ กรรมสิทธิ์บ้านหรือคอนโดเป็นของเราแต่ติดจำนองกับธนาคารไว้ก่อนจนกว่าจะจ่ายหนี้เสร็จ หลายๆ คนที่เคยกู้แล้วอาจจะพอเข้าใจขั้นตอนนี้

แต่คนที่ซื้อคอนโดหรือบ้านเป็นครั้งแรกอาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาบ้าน เช่น จะกู้ได้ 100% ของราคาประเมินเลยหรือไม่? การประเมินมีค่าใช้จ่ายหรือไม่แล้วเท่าไหร่? ควรใช้บริษัทประเมินของธนาคารหรือหามาเอง? ราคาประเมินของธนาคารกับราคาประเมินของกรมที่ดินอย่างไหนสูงกว่ากัน? ราคาประเมินรวมเฟอร์นิเจอร์หรือไม่ ? เป็นต้น วันนี้ จะมาเล่าคำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้ให้ฟังนะคะ

1. กู้ได้ 100% ของราคาประเมินเลยหรือไม่?

ปัจจุบัน ถ้าซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่มือหนึ่งกับโครงการผู้ประกอบการเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จะสามารถกู้ได้ 100% ของราคาประเมิน แต่โครงการที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยกับซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองจะกู้ได้ไม่เต็มค่ะ โดยทั่วไปบ้านจะกู้ได้ 95% และคอนโดจะกู้ได้ 90% ของราคาประเมินค่ะ

2. การประเมินมีค่าใช้จ่ายหรือไม่แล้วเท่าไหร่?

การประเมินราคามีค่าใช้จ่ายค่ะและใช้ข้อมูลการประเมินราคาของแต่ละธนาคารที่เราไปยื่นเรื่องกู้ คราวนี้เรื่องค่าใช้จ่าย อีกแล้วค่ะ ถ้าซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่มือหนึ่งกับโครงการผู้ประกอบการเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะเสียค่าประเมินประมาณหลักร้อยหรืออาจจะไม่เสียเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นโครงการที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยกับซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองจะเสียค่าประเมินอยู่หลักพันบาทแล้วแต่มูลค่าบ้าน เช่น ถ้าบ้านราคามากกว่า 5 ล้านก็จะหลายพันบาทค่ะ

3. ราคาประเมินของธนาคารกับราคาประเมินของกรมที่ดินต่างกันยังไง?

ราคาประเมินของกรมที่ดิน (จริงๆ แล้วเป็นราคาประเมินที่ประกาศโดยกรมธนารักษ์ ) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นราคากลางในการจัดเก็บภาษี ปกติจะประกาศใช้ทุกๆ 4 ปี ซึ่งโดยปกติแล้วราคาจะล่าช้ากว่าราคาตลาดและต่ำกว่า ส่วนราคาประเมินบ้านหรือคอนโดของธนาคาร จะใช้วิธีเปรียบเทียบตลาดเป็นหลัก และส่วนใหญ่ราคาจะสูงกว่าราคาประเมินของกรมที่ดิน

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ราคาประเมินอาคารชุดจากกรมธนารักษ์ส จะต้องประกาศใหม่เมื่ออาคารเพิ่งก่อสร้างเสร็จ เพื่อให้กรมที่ดินสามารถเก็บภาษีได้ ทำให้บางครั้งราคาอาจใกล้เคียงกับราคาประเมินของธนาคาร เดี๋ยวสัปดาห์หน้าเราจะมาพูดถึงรายละเอียดราคาประเมินกันนะคะว่า ราคาประเมินได้มาอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง

สรุปคือ ปัจจุบันการซื้อบ้านใหม่มือหนึ่งมีข้อได้เปรียบด้านการประเมินราคาตอนที่เราจะทำเรื่องกู้เงินกับธนาคารมากกว่าซื้อบ้านมือสองหรือกับโครงการที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยมากเลยนะคะ คราวหน้าเรามาดูเรื่องรายละเอียดการประเมินราคากันค่ะ

จากใจ
ZmyHome
กดแชร์เป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยครับ
  • ค้นหาบ้านคอนโด

    ต้องการซื้อ หรือเช่า บ้าน คอนโด ตรวจ สอบราคา เช็คค่าเช่า ติดต่อตรงกับเจ้า ของตัวจริง ทุกทำเล ทั่วประเทศ

    ค้นหา
  • ลงประกาศ

    ต้องการขาย หรือปล่อยเช่า บ้าน คอนโด เพียงคุณเป็นเจ้าของตัวจริง และพร้อมที่จะลงประกาศอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ซื้อศึกษา อย่างสะดวกที่สุด ก็ลงประกาศ ได้เลย

    ลงประกาศ