• 2 มี.ค. 2564

ที่ดินใช้ประโยชน์อย่างไร จึงเป็นการประกอบเกษตรกรรม?

          จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์แปลก ๆ ขึ้นมาในประเทศไทย ก็คือเกิดมีสวนกล้วย สวนมะนาว สวนมะพร้าว ปลูกอยู่บนที่ดินว่างเปล่าหลายแปลง ซึ่งดูอย่างไรก็ไม่ค่อยจะเหมือนสวนที่ปลูกเพื่อเก็บผลผลิตจำหน่ายสักเท่าไหร่

          สาเหตุที่เกิดพื้นที่เกษตรกรรมแบบนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากผูัที่ถือครองที่ดินรกร้าง ต้องการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์มาเป็นที่ดินเกษตรกรรม เพื่อที่การจ่ายภาษีจะได้ลดลงนั่นเอง เพราะที่ดินทั้ง 2 ประเภทมีเพดานอัตราภาษีที่ต่างกันอยู่หลายระดับ โดยที่ดินเกษตรจะมีเพดานการจัดเก็บสูงสุดที่ 0.15% ของราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะที่ที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีอัตราเพดานภาษีสูงสุด 1.2% เพิ่มอีก 0.3% ทุก ๆ 3 ปี แต่รวมแล้วอัตราภาษีจะไม่เกิน 3%

          ถ้าคิดจากอัตราภาษีสูงสุด ที่ดินที่เกษตรกรรมจะเสียภาษีในอัตราสูงสุด ล้านละ 1,500 บาท แถมถ้าถือครองโดยบุคคลธรรมดายังได้ยกเว้นภาษี สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทอีก ส่วนที่ดินรกร้างจะเสียภาษีในอัตราสูงสุด ล้านละ 12,000 บาท ไปจนถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว

          แต่การจะปลูกต้นไม้ไม่กี่ต้น แล้วไปเคลมว่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเลยก็คงจะไม่ได้ เพราะได้มีการ ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ออกมาเมื่อกลางปี 2563 กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าปลูกต้นอะไร ต้องมีจำนวนกี่ต้นต่อเนื้อที่ 1 ไร่ จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ยกตัวอย่างต้นไม้ที่หาปลูกได้ทั่วไปดังต่อไปนี้ครับ
 

          นอกจากการปลูกพืชแล้ว ยังกำหนดไปถึงการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์และแมลงเศรษฐกิจอีกด้วย โดยกำหนดทั้งขนาดคอก ขนาดโรงเรีอน และขนาดที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น
 
ชนิดสัตว์ พื้นที่คอกหรือโรงเรือน การใช้ที่ดิน
โค กระบือ 7 ตร.ม. ต่อตัว 1 ตัว ต่อ 5 ไร่
แพะ แกะ 2 ตร.ม. ต่อตัว 1 ตัว ต่อ 1 ไร่
สุกรขุน 1.5 ตร.ม. ต่อตัว -
เป็ด ไก่ 4 ตร.ม. ต่อตัว -
กวาง - 1 ตัว ต่อ 2 ไร่

          ส่วนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า ให้ถือว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม

          1. พื้นที่บ่อดิน บ่อปูน กระชังบก บ่อพลาสติก โรงเพาะฟัก หรือพื้นที่ที่ใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้้าในลักษณะอื่นใด ที่ผู้ขุด ผู้สร้าง ผู้จัดท้า เจ้าของ หรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงที่ใช้ท้าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า

          2. ที่ดินที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องที่มีกิจกรรมใช้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า เช่น บ่อพักน้้า บ่อบ้าบัดน้้า คลองส่งน้้า คลองระบายน้้า คูน้้า คันดินขอบบ่อ ถนน และให้รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นใด ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้า

         สำหรับใครที่มีที่ดินว่างเปล่าและคิดจะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ดินเกษตรกรรม อย่าลืมพิจารณาผลดี-ผลเสียให้รอบคอบแล้วเตรียมการแต่เนิ่น ๆ นะครับ

จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ

ผู้เขียน จเร ZmyHome
บทความอื่นๆ
  • ค้นหาบ้านคอนโด

    ต้องการซื้อ หรือเช่า บ้าน คอนโด ตรวจ สอบราคา เช็คค่าเช่า ติดต่อตรงกับเจ้า ของตัวจริง ทุกทำเล ทั่วประเทศ

    ค้นหา
  • ลงประกาศ

    ต้องการขาย หรือปล่อยเช่า บ้าน คอนโด เพียงคุณเป็นเจ้าของตัวจริง และพร้อมที่จะลงประกาศอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ซื้อศึกษา อย่างสะดวกที่สุด ก็ลงประกาศ ได้เลย

    ลงประกาศ